กรมเจ้าท่า จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาและตะกอนจากเรือ พ.ศ…..
เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2567 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) ด้านปลอดภัย เป็นประธานฯในการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาและตะกอนจากเรือ พ.ศ….. ณ ห้องประชุมวิสูตรสาครดิษฐ์ อาคาร 162 ปี กรมเจ้า
โดยสำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กลุ่มสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสำนักกฎหมาย ได้จัดประชุม เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาและตะกอนจากเรือ ค.ศ. 2004 และร่างพระราชบัญญัติการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาและตะกอนจากเรือ พ.ศ. …. ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังความคิดเห็น ให้ข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาและตะกอนจากเรือ พ.ศ…..
ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาและตะกอนจากเรือ พ.ศ. …. เพื่อเป็นไปตามโดยอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาเรือและตะกอน (Ballast Water Management Convention 2004) ถือเป็นอีกหนึ่งหน้าที่ที่สำคัญของเหล่า “คนประจำเรือ” ในการปกป้องระบบนิเวศวิทยาทางทะเล
โดยอนุสัญญานี้จะถูกนำมาบังคับใช้กับเรือทุกลำที่จดทะเบียนภายใต้ธงของเหล่าประเทศภาคี ที่ยอมรับในการจัดการกับน้ำอับเฉาบนเรือตามข้อบังคับในอนุสัญญา ซึ่งมีที่มาจากสาเหตุหลักที่การเดินทางของเรือสินค้าจำนวนมากจากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาคหนึ่งของโลกได้นำมา ซึ่งปัญหาการเเพร่กระจายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ปะปนมากับน้ำอับเฉาเรือ กลายเป็นเป็นภัยคุกคามที่ร้ายเเรงต่อระบบนิเวศวิทยาเเละความหลากหลายทางธรรมชาติ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในการทำประมงและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศได้
โดยกรมเจ้าท่ามีหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยในการคมนาคมทางน้ำ พร้อมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบทิ้งของเสียในแหล่งน้ำสาธารณะและทะเลในน่าน้ำไทย และเป็นไปตามข้อกำหนดของภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุม และจัดการน้ำอับเฉาและตะกอนจากเรือ ค.ศ.2004 ที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศกำหนดต่อไป