“เจ้าท่า”ลุยตรวจเรือโดยสารบริการพื้นที่อีสาน เพิ่มมั่นใจเดินทาง
“กรมเจ้าท่า”เดินหน้าลงพื้นที่ตรวจเข้มท่าเรือ-เรือโดยสารจังหวัดภาคอีสานต่อเนื่อง ย้ำ!! ความสะดวก-ปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ เพิ่มความมั่นใจให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว พร้อมร่วมหารือการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ แก้ปัญหาภัยแล้ง-มีพื้นที่กักเก็บน้ำ
จากนโยบายรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่า ควบคุม กำกับ และอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยทางน้ำแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างความพร้อมและความมั่นใจในการรองรับนักท่องเที่ยว
สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาหนองคาย ได้มอบให้เจ้าหน้าที่ ออกหน่วยบริการประชาชนเคลื่อนที่ พร้อมจัดอบรมสอบความรู้เพื่อรับประกาศนียบัตรผู้ทำการในเรือ และประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจ ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยฯ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ผู้ประกอบการเรือ และประชาชนทั่วไป โดยมีผู้เข้าอบรมจำนวน 71 คน ณ บริเวณท่าเรือเทศบาล อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ เพื่อเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง พร้อมกันนี้ ได้จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจตราความปลอดภัยตามท่าเทียบเรือ ต่าง ๆ ดังนี้
1.ท่าเรือวัดพระธาตุหล้าหนอง เรือโดยสาร 7 ลำ ผู้โดยสาร 185 คน 2.ท่าเรือเทศบาลตำบลบึงโขงหลง เรือโดยสาร 115 ลำ ผู้โดยสาร 623 คน 3.ท่าเรือทะเลบัวแดง เรือโดยสาร 54 ลำ ผู้โดยสาร 587 คน 4.ท่าเรือด่านศุลกากรบึงกาฬ เรือโดยสาร 6 ลำ เที่ยวไป 1 เที่ยว และเที่ยวกลับ 2 เที่ยว ผู้โดยสาร 36 คน 5.ท่าเรือศุลกากรปากชม เรือโดยสาร 5 ลำ เที่ยวไป 4 เที่ยว และเที่ยวกลับ 5 เที่ยว ผู้โดยสาร 67 คน
ทั้งนี้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขานครพนม ได้จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจตราความปลอดภัยตามท่าเทียบเรือ ต่าง ๆ ดังนี้ 1.ท่าเทียบเรือและโดยสารเทศบาลนครพนม อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม เรือโดยสาร 3 ลำ ขาเข้า 9 เที่ยว ขาออก 11 เที่ยว ผู้โดยสาร 410 คน 2.ท่าเทียบเรือบ้านโพธิ์ชัย ต.ไผ่ล้อม อ.บ้านแพง จ.นครพนม เรือโดยสาร 6 ลำ ขาเข้า 4 เที่ยว ขาออก 4 เที่ยว ผู้โดยสาร 268 คน
พร้อมกันนี้ เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจเช็คความพร้อมของเรือโดยสาร และอุปกรณ์ประจำเรือโดยสารให้ครบถ้วนอยู่เสมอ ก่อนรับผู้โดยสาร และได้ประชาสัมพันธ์ผู้ควบคุมเรือโดยสารและผู้โดยสารให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย และสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาขอนแก่น ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเชิงพื้นที่ด้านการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน “น้ำแก้จน ทุกคนมี น้ำ” ณ ห้องประชุมแก่นเมือง ศาลากลางจังหวัด ขอนแก่น
โดยที่ประชุมเล็งเห็นว่า ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น คือปัญหาการกักเก็บน้ำ เนื่องจากในปี 2566-2569 พื้นที่จะประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง และในปี 2570-2571 จะประสบปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากปริมาณน้ำฝนมากเป็นพิเศษ
ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพและสถานการณ์ปัจจุบัน คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เห็นว่าการดำเนินการสร้างพื้นที่เก็บกักน้ำ ในรูปแบบ “ฝายแกนดินซีเมนต์ ” เป็นวิธีที่เหมาะสมกับพื้นที่ อีกทั้งการก่อสร้างใช้งบประมาณน้อย โครงสร้างมีความมั่นคงแข็งแรงและมีอายุการใช้งานได้หลายปี สามารถดำเนินการได้ทั้งในลำน้ำขนาดเล็กและลำน้ำขนาดใหญ่ สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบเห็นความไม่ปลอดภัยทางน้ำ โทรแจ้งสายด่วนกรมเจ้าท่า 1199 ตลอด 24 ชั่วโมง