Transport

111 ปี “ทางหลวง” ยืนหยัดพัฒนาถนนทั่วประเทศเพื่อประชาชน

เบิร์ดเดย์ทางหลวง” 111 ปี พัฒนาถนนทั่วประเทศทุกมิติ เพื่อประชาชนเดินทางสะดวก ปลอดภัย

วันนี้ (1 เม..2566) นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมทางหลวงปีที่ 111 ปี โดยมี นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานกรมทางหลวง และแขกผู้มีเกียรติให้การต้อนรับและเข้าร่วมพิธีดังกล่าว บริเวณอนุสาวรีย์ผู้กล้าหาญกรมทางหลวง  โดยในช่วงเช้าได้มีพิธีบวงสรวงพระวิษณุกรรม พระภูมิเจ้าที่ เทพารักษ์ พิธีสงฆ์ และพิธีเทวาภิเษก องค์พระวิษณุกรรมจำลอง เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บุคลากรของกรมทางหลวง

กรมทางหลวงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรม เมื่อวันที่ 1 เมษายน .. 131 ตรงกับ .. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จวบจนถึงวันนี้เป็นปีที่ 111  ปัจจุบันกรมทางหลวงยังคงมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง ให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วประเทศ และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนควบคุมและดูแลรักษาทางหลวงในความรับผิดชอบจำนวน 1,528 สายทาง ระยะทางรวมกว่า52,000 กิโลเมตร (กม.) เชื่อมโยงโครงข่ายระบบการคมนาคมขนส่งอย่างไร้รอยต่อในทุกมิติ

เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางถนนและพัฒนาคุณภาพการให้บริการของระบบทางหลวงอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาลและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งกรมทางหลวงตระหนักถึงภารกิจอันสำคัญยิ่งเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน โดยนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามวิสัยทัศน์ของกรมทางหลวงที่ว่าระบบทางหลวงที่สะดวก ปลอดภัยเชื่อมโยงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยได้ดำเนินโครงการที่สำคัญเพื่อการพัฒนาในด้านต่าง อย่างต่อเนื่อง อาทิ

1.การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ได้แก่ โครงการพัฒนาคูน้ำริมถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อแก้ไขปัญหาการระบายน้ำบนถนนวิภาวดีรังสิตอย่างยั่งยืน ลดปัญหาการจราจรติดขัด ประชาชนสามารถสัญจรได้ด้วยความสะดวกและปลอดภัย

2.การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 (สายบางปะอินนครราชสีมา), โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 (สายบางใหญ่กาญจนบุรี), โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 (สายบางขุนเทียนเอกชัยบ้านแพ้ว),  โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียนบางบัวทอง หรือถนนกาญจนาภิเษกวงแหวนด้านตะวันตก) ซึ่งอยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติการดำเนินโครงการฯ

และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา อยู่ระหว่างขอตั้งงบประมาณ โดยจะขอเงินงบประมาณสมทบปี 2567 และเจรจากับแหล่งเงินกู้  พิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ รวมถึงการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (MR-MAP) เพื่อพิจารณาวางแนวเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับแนวเส้นทางรถไฟ

3.การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกสำหรับรองรับการลงทุนและการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของอาเซียน

4.การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงสายใหม่เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 5 (บึงกาฬบอลิคำไซ) และโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 6 (อุบลราชธานีสาละวัน) อยู่ระหว่างการพิจารณาแหล่งงบประมาณร่วมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

5.การพัฒนาจุดจอดพักรถบรรทุก (Truck Rest Area) และสถานีตรวจสอบน้ำหนักเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางและป้องกันความเสียหายของโครงข่ายทางหลวง และ (6) การพัฒนาตามนโยบายกระทรวงคมนาคมที่สำเร็จเป็นรูปธรรมแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ผู้ใช้ทาง เช่น

การพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่นำระบบเทคโนโลยีมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บเงินบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และการปรับความเร็วสูงสุดบนทางหลวงเป็นความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงสำหรับเส้นทางที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด .. 2564 เป็นต้น

นอกจากภารกิจด้านการก่อสร้างแล้ว กรมทางหลวงยังมีภารกิจในการบำรุงรักษาทางและสะพานบนทางหลวงให้มีความสะดวกและปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งดำเนินการปรับปรุงทางหลวงและจุดบริการประชาชนให้สวยงามด้วยการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่โดยรอบตามนโยบายคมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทยซึ่งปัจจุบันมีหลายโครงการได้ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว เช่น จุดเช็คอินดอยอินทนนท์ บนทางหลวงหมายเลข 1009 .สกลนคร และ จุดเช็คอินโค้งปิ้งงู บนทางหลวงหมายเลข 213 .เชียงใหม่ เป็นต้น

นอกจากนี้ ทล. ยังให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือสังคมและประชาชนอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งจุดให้บริการประชาชนเพื่อรองรับการเดินทาง, การบริหารจัดการจราจรเพื่อเปิดช่องทางพิเศษร่วมกับตำรวจทางหลวง, การเข้าร่วมดำเนินการช่วยเหลือ ในกรณีอุบัติเหตุและแก้ไขกรณีอุบัติภัยต่าง , การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง  ช่วงเทศกาลและวันหยุดยาวต่อเนื่อง, การบูรณาการร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาคแจกจ่ายน้ำประปาเพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงสถานการณ์ภัยแล้ง ตลอดจนการดำเนินการเพื่อลดและป้องกันฝุ่น PM 2.5 เป็นต้น

กรมทางหลวงพร้อมที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศในทุกมิติให้มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางถนนและพัฒนาคุณภาพการให้บริการของระบบทางหลวงอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาล สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (.. 2561-2580) และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งระยะ 20 ปี  (.. 2561-2580) โดยจะยังคงยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลและคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ                                                                       

Loading

Back to top button