“สบพ.” ลุยส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านการบิน ครั้ง 1
สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยกองวิชาบริหารการบินจัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านการบิน ครั้งที่ 1 ณ สถาบันการบินพลเรือน กรุงเทพฯ โครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 7, 11 และ 12 ก.ค.2566
สำหรับกิจกรรมหลักในวันที่ 12 ก.ค.2566 เป็นการแบ่งกลุ่มของนักศึกษาจากทุกๆ สถาบันเข้าด้วยกัน เพื่อนำเสนอผลงานในหัวข้อ นวัตกรรมสำหรับการจัดการสภาวะอันตรายจากนกในด้านผู้ให้บริการด้านการบินพลเรือนทั้ง 7 บริบท ได้แก่ Aircraft Manufacturer, Air Operator, Air Traffic Navigation Services, General Aviation, Airport Operator, Approved Training Organization และ Maintenance Repair Organization โดยมีสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยศรีปทุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (สุรนารายณ์)
สำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานสถานประกอบการต่างๆ เป็นกรรมการให้ข้อเสนอแนะและตัดสินคัดเลือกทีมผู้ชนะ ได้แก่ คุณทรงฤทธิ์ คงสวัสดิ์ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานมาตรฐานความปลอดภัย สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรืออากาศตรีพงศธร จันทร์ก้อน ผู้เชี่ยวชาญอิสระเรื่องการบริหารจัดการเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากสัตว์ คุณสมบูรณ์ มาตรคำจันทร์ Head of Ecosystem Relationship System Development Unit บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) คุณพีรทัศน์ รัตนวิทยวงศ์ Safety Engineering Manager สายการบินไทยแอร์เอเชีย กัปตันสมชาย โสภานนท์ ผู้จัดการอาวุโสส่วนนิรภัยองค์กร สายการบินบางกอกแอร์เวย์ คุณญาดา ณ ลำพูน ผู้จัดการงานบริหารมาตรฐานการบริการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และ ดร.วราภรณ์ เต็มแก้ว ผู้อำนวยการกองวิชาบริหารการบิน สถาบันการบินพลเรือน
โดยมี น.ส.ภัคณัฏฐ์ มากช่วย ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน เป็นประธานในพิธีมอบของรางวัล พร้อมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆ จากผลการตัดสินรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ กลุ่ม Air Traffic Navigation Services ในหัวข้อ Artificial Intelligence Camera System รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ กลุ่ม Air Operator ในหัวข้อ HAWKEYES App รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้แก่ กลุ่ม General Aviation ในหัวข้อ D-TECT App และรางวัล Popular Vote ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ กลุ่ม Approved Training Organization ในหัวข้อ www .training simulator
สำหรับผู้ให้การสนับสนุนรางวัล มีดังนี้
1.รางวัลที่ 1 ศึกษาดูงานการจัดการด้านมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการฝึกภาคจำลอง จากศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ, ของรางวัลจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และของรางวัลจากสายการบินบางกอกแอร์เวย์
2.รางวัลที่ 2 ของรางวัลจากบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และของรางวัลจากสายการบินไทยแอร์เอเชีย
3.รางวัลที่ 3 ของรางวัลจากสายการบินไทยสมายล์
4.รางวัล Popular vote ของรางวัลจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)